รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน หรือ รถไฟชานเมืองสายตะวันออก-ตะวันตก เป็นโครงการรถไฟชานเมืองในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และเป็นส่วนหนึ่งของโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) โดยรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) มีแนวเส้นทางตามแกนหลักทิศตะวันตก-ตะวันออก โดยตามแผนแม่บท พื้นที่โครงการจะมีระยะทาง 127.5 กิโลเมตร[note 1] จากนครปฐม ถึงชุมทางฉะเชิงเทรา ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในเขตทางของการรถไฟแห่งประเทศไทย ปัจจุบัน อยู่ในระหว่างการก่อสร้างช่วง ชุมทางตลิ่งชัน-สถานีกลางบางซื่อ ซึ่งได้ดำเนินการไปแล้ว 96.80 %
ลักษณะโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน เป็นรถไฟทางคู่ ราง 120 ปอนด์ เอ.[ต้องการอ้างอิง]ขนาด 1 เมตร (meter gauge) โดยมีโครงสร้างทางวิ่งตามแนวสายทางช่วงต่างๆ ดังนี้
โครงสร้างทางวิ่งช่วงตลิ่งชัน-บางซื่อ ระยะทาง 15 กิโลเมตร เริ่มต้นเป็นทางรถไฟระดับดิน จุดเริ่มต้น (กิโลเมตรที่ 0.00 ของโครงการ) อยู่ระหว่างที่หยุดรถไฟบ้านฉิมพลีกับสถานีรถไฟชุมทางตลิ่งชัน ตรงกับช่วงปลายด้านทิศเหนือของถนนพุทธมณฑล สาย 1 จากนั้นแนวสายทางตรงไปทางทิศตะวันออกตามแนวทางรถไฟสายใต้ ผ่านสถานีรถไฟชุมทางตลิ่งชัน สถานีรถไฟบางบำหรุ จนถึงกิโลเมตรที่ 7+250 โครงสร้างเปลี่ยนเป็นทางยกระดับชนิดไม่มีหินรองทาง ผ่านสถานีบางกรวย-กฟผ. ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านสถานีรถไฟบางซ่อน และเข้าสู่สถานีกลางบางซื่อ
โครงสร้างระดับดินเริ่มต้นจากบริเวณจุดตัดทางรถไฟกับถนนสวนผัก ไปตามแนวเส้นทางรถไฟ สายใต้ผ่านถนนราชพฤกษ์ ข้ามคลองบางกอกน้อย ไปจนถึงซอยหมู่บ้านภาณุรังสี ระยะทางประมาณ 7.560 กม. โดยมีรั้วกั้นตลอดสองข้างทางเพื่อให้เกิดความสะดวก ในการเดินรถ และความปลอดภัยของผู้ใช้รถยนต์ โดยสามารถไปกลับรถได้ที่ทางกลับรถที่ได้สร้างไว้ จากนั้นจะเป็นโครงสร้างยกระดับ ข้ามถนนจรัญสนิทวงศ์ แม่น้ำเจ้าพระยา ถนนประชาราษฎร์สาย 1 ถนนกรุงเทพ - นนทบุรี ถนนประชาชื่น ข้ามคลองประปา สิ้นสุดที่จุดเชื่อมต่อกับโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ – รังสิต ที่สถานีกลางบางซื่อ ระยะทางประมาณ 7.703 กม. โดยมีการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นสะพานคอนกรีตอัดแรง ชนิด Box Girderประเภท Balance Cantilever ขนาดช่วง (1x55.00) + (1x105.00) + (1x120.30) + (1x103.00) + (1x86.00) + (1x47.00) เมตร รองรับน้ำหนักบรรทุกมาตรฐาน U.20 และเป็นสะพานที่สามารถรองรับทางวิ่งได้ 2 ทาง
สะพานลอย 10 จุด ได้แก่ ถนนทุ่งมังกร ถนนราชพฤกษ์ ซอยหมู่บ้านร่มรื่น ถนนบางกอกน้อย-ตลิ่งชัน ถนนเทอดพระเกียรติ วัดสนามใน ซอยภาณุรังสี ซอยจรัลสนิทวงศ์ 89 ถนนประชาราษฎร์ และถนนประชาชื่น
ส่วนต่อขยายบางซื่อ-มักกะสัน มีระยะทาง 9 กิโลเมตร เป็นโครงการต่อขยายภายในปี พ.ศ. 2559 โครงสร้างทางวิ่งเป็นทางยกระดับออกจากสถานีกลางบางซื่อ จากนั้นลดระดับลงเป็นทางรถไฟต่ำกว่าระดับพื้นดิน (คลองแห้ง) ผ่านด้านตะวันตกของสถานีรถไฟสามเสน จากนั้นลดระดับลงเป็นทางรถไฟอุโมงค์ใต้ดินระดับล่าง ซ้อนอยู่ด้านล่างของเส้นทางบางซื่อ-หัวลำโพง แล้วจึงเข้าสถานีราชวิถี มุ่งหน้าลงใต้ เมื่อผ่านสถานีรถไฟจิตรลดา จึงไต่ระดับขึ้นมาเป็นคลองแห้งอีกครั้ง เลี้ยวไปตามแนวทางรถไฟสายแม่น้ำที่สามเหลี่ยมจิตรลดา ผ่านสถานีพญาไท จากนั้นเมื่อลอดผ่านทางพิเศษเฉลิมมหานคร จึงไต่ระดับขึ้นเป็นทางรถไฟยกระดับ อยู่ทางทิศใต้ของโครงการรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน และเข้าสู่สถานีมักกะสัน ซึ่งใช้ชานชาลาแยกต่างหากกับรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน
อ้างอิงตามแผนแม่บทโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง โครงสร้างทางวิ่งของรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงในส่วนต่อขยายอื่นๆ ยังอยู่ในระดับแผนงาน ยังไม่มีการออกแบบรายละเอียด แต่มีการกำหนดคร่าวๆดังนี้
งานก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้า ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ก่อสร้างแล้วเสร็จตามแผนในปี พ.ศ. 2555 ต้องรอให้การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-รังสิต และ สถานีกลางบางซื่อ และการจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้า แล้วเสร็จก่อน ถึงจะมีความพร้อมในการเดินรถด้วยระบบรถไฟฟ้า ดังนั้นรฟท. มีมิติให้จัดเดินรถด้วยรถไฟดีเซลราง ก่อนในช่วงแรกไปก่อน เพื่อรอให้โครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-รังสิต แล้วเสร็จ ทั้งนี้ได้เปิดให้ประชาชนได้ทดลองใช้ฟรี เริ่ม 5 ธันวาคม 2555
เมื่อโครงการเสร็จสิ้นทั้งระบบ (การก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อ, รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม, แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ส่วนต่อขยาย พญาไท - บางซื่อ) จะมีการนำขบวนรถที่ใช้ระบบจ่ายไฟฟ้าโดยสายส่งเหนือหัว มาทำการวิ่ง โดยสามารถทำความเร็วได้สูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเมื่อเปิดวิ่งทั้งระบบ
โครงการก่อสร้างในปัจจุบัน และส่วนต่อขยาย มีการออกแบบเพื่อเชื่อมต่อ และ/หรือ ใช้สถานีร่วม ดังนี้
โครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-บางซื่อ ไม่ได้แบ่งงานก่อสร้างออกเป็นสัญญาย่อย งานทั้งหมดรวมอยู่ในสัญญาเดียวกันเบ็ดเสร็จอยู่ในวงเงิน 8,748.4 ล้านบาท โดยมี กิจการร่วมค้ายูนิค-ชุนโว เป็นผู้ก่อสร้าง โดยมีรายละเอียดเนื้องาน ดังนี้
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/สถานีบางซ่อน_(รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน)